วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

ให้นักเรียนเขียนสรุปการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) ใน Web Blog ของแต่ละคน และแจ้ง URL ของนักเรียนให้ครูทราบเพื่อจะได้เข้าไปตรวจให้คะแนน
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ชื่อ ณัฐพล  สาระพันธ์ เลขที่ 6ห้อง 5/10     

กลุ่มที่ 3                                                

ปัญหาที่นักเรียนศึกษา พ่อแม่ไม่เข้าใจเด็ก

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
พ่อ แม่ ไม่ทำความเข้าใจกับเด็กหรือวัยรุ่น ทำไห้ เด็กหรือ วัยรุ่นตีตัวออกห่างและห่างเหินออกไป
มีปัญหา หรือ ต้องการอะไรก็จะไม่บอกพ่อแม่ ทำไห้เกิดปัญหาตามมา

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหา ปัญหาในครอบครัว
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้น

ผลการศึกษา (ให้เขียนตามวัตถุประสงค์ )
จากการ ศึกษาพบว่า วัยรุ่นมักมีปากเสียงกับ พ่อ หรือ แม่ เพราะพ่อกับแม่ไม่ทำความเข้าใจว่า ลูกต้องการอะไร หรือ ลูกชอบ อะไร เอาเพียงแต่ คิดว่า ทางที่ตนเลือกเป็น ทางที่ดีที่สุดของลูก

เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
ไห้พ่อแม่ และเด็กเปิดใจคุยกัน และไห้พ่อแม่ เปิดใจยอมรับ หรือ รับฟัง ในความต้องการของลูก

นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
การใช้เทคโนโลยี เพื่อไห้เกิดผลประโยชน์ และใช้ในการแก้ไขปัณหา

ได้ระเบียบในการทำงานและ การทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกความรับผิดชอบต่อหน้าที่

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้เพื่อน

การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้เพื่อน
·        สร้างบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันแบบกลุ่ม  ไม่โดดเดี่ยว  ไม่เอาตัวรอดคนเดียว  เพื่อนมีหน้าที่ช่วยเหลือกัน
·        สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นห่วงเป็นใยกัน  เมื่อมีใครหายไปเพื่อนควรสนใจ  เป็นห่วงเป็นใย  ติดตามข่าวสาร  พยายามดึงเพื่อนเข้ากลุ่ม  มีการแบ่งปันกัน  ช่วยเหลือกัน
·        เมื่อมีเพื่อนทำผิด  เพื่อนที่ดีควรช่วยเตือน และชักจูงให้เปลี่ยนแปลง  เลิกทำผิด  กลับมาทำดี โดยไม่โกรธกัน  มองกันในทางที่ดี
·        ฝึกทักษะการสื่อสารที่ดี  บอกความคิด  ความต้องการ  ความรู้สึก  เมื่อไม่พอใจมีวิธีบอกให้เพื่อนเข้าใจ  และสนองความต้องการกันได้ตรงจุด 
·        ฝึกทักษะสังคมทางบวก  การให้  การรับ  การขอโทษ  การขอบคุณ  การเข้าคิว  รอคอย  การทำดีต่อกัน  การพูดดีๆ  สุภาพ  อ่อนโยน  ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อกัน   

การสื่อสารที่ดี
หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า  “ทำไม” 
การใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า  “ทำไม.....”  เช่น  “ทำไมเธอมาโรงเรียนสาย”  จะสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจได้ 2  แบบ คือ
bullet
เธอทำไม่ดีเลย  ทำไมจึงทำเช่นนั้น    และ
bullet
ถ้ามีเหตุผลดีๆ  การกระทำเช่นนั้นก็อาจเป็นที่ยอมรับได้ 
ผลที่ตามมาคือ เด็กจะพยายามหาเหตุผลเข้าข้างตนเองมากขึ้น  เพื่อพยายามยืนยันว่า  ความคิดและการกระทำของเขาถูกต้อง  เป็นการสอนให้เด็กเถียงแบบข้างๆคูๆ  แล้วครูก็จะโมโหเด็กเสียเอง  ทั้งๆที่เป็นคนเริ่มต้นให้เด็กหาเหตุผล  แต่เมื่อเด็กแสดงเหตุผล  ก็ไม่ยอมรับเหตุผลของเขา
ถ้าต้องการทราบเหตุผลจริงๆของพฤติกรรมเด็ก  ควรถามดังนี้
ครูอยากรู้จริงๆว่าอะไรทำให้เธอทำอย่างนั้น
พอจะบอกครูได้ไหมว่า  เธอคิดอย่างไรก่อนที่จะทำอย่างนั้น
เกิดอะไรขึ้น  ทำให้เธอมาโรงเรียนสายในวันนี้
มันเกิดอะไรขึ้น  ไหนลองเล่าให้ครูเข้าใจหน่อย

ตำหนิที่พฤติกรรม  มากกว่า ตัวเด็ก  
ถ้าครูจะตำหนิเด็ก  ต้องระวังการต่อต้านไม่ยอมรับ  วิธีการที่ทำให้เด็กยอมรับ  และไม่เสียความรู้สึกด้านดีของตนเอง  สามารถทำได้ด้วยการตำหนิที่พฤติกรรมนั้น    ดีกว่าตำหนิที่ตัวเด็ก  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
“ การมาโรงเรียนสาย  เป็นสิ่งที่ไม่ดี”     ดีกว่า     “เธอนี่แย่มาก  ขี้เกียจจังเลยถึงมาสาย
“ การทำเช่นนั้น  ไม่ฉลาดเลย”    ดีกว่า    “เธอนี่โง่มากนะ  ที่ทำเช่นนั้น
ครูไม่ชอบที่เธอไม่ได้ช่วยงานกลุ่ม   งานนี้ทุกคนต้องช่วยกัน “   ดีกว่า    “เธอนี่เป็นคนเอาเปรียบเพื่อนนะ
          ไม่ควรใช้คำพูดทำนองว่า  เป็นนิสัยไม่ดี  หรือสันดานไม่ดี  เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน  หรือแกล้งเป็นอย่างนั้นจริงๆ  หรือลามไปถึงพ่อแม่  เช่น  “อย่างนี้พ่อแม่ไม่เคยสอน  ใช่ไหม” 

ฝึกใช้คำพูดที่ขึ้นต้น  “ฉัน......”   มากกว่า  “เธอ.............”  ( I-YOU  Message)   ได้แก่
ครูไม่ชอบการที่นักเรียนมาสาย”      ดีกว่า  “เธอนี่แย่มากที่มาสาย
ครูอยากให้นักเรียนมาเช้า
ครูไม่ชอบพูดเวลานักเรียนไม่ตั้งใจฟัง
ครูอยากให้นักเรียนหยุดฟัง  เวลาครูพูด
ครูเสียใจที่เธอทำเช่นนั้น
ครูอยากให้เธอ..................
ครูจะดีใจมากที่................

บอกความคิด  ความรู้สึก  ความต้องการ 
ฝึกให้เด็กมีทักษะในการสื่อสาร  ความกล้าพูด  กล้าบอกสิ่งที่ตัวเองคิด  รู้สึก  และต้องการอย่างสุภาพ  เข้าใจกัน  ทั้งต่อครู  และต่อเพื่อนๆด้วยกันเอง  ไม่ควรอาย  หรือกลัวเพื่อนโกรธ  บางคนกลัวเพื่อนไม่ยอมรับ  เลยยอมตามเพื่อน  ถูกเพื่อนเอาเปรียบ 
ครูช่วยกระตุ้นเรื่องนี้ได้  ด้วยการฝึกรายบุคคล 
เธอคิดอย่างไร  เรื่องนี้............
เธอรู้สึกอย่างไร  ลองบอกครู...........
เธอต้องการให้เป็นอย่างไร...........
          ครูควรรับฟังเด็กมากๆ  ให้เขารู้สึกว่า  การพูดบอกเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ  และสามารถบอกกับเพื่อนๆได้ด้วย

ชมบนหลังคา  ด่าที่ใต้ถุน
ครูควรมีเทคนิคในการชม  ให้เกิดความภาคภูมิใจตนเอง   ควรชมให้ผู้อื่นทราบด้วย  หรือร่วมชื่นชมด้วย    และเมื่อชมแล้ว  อาจเสริมให้เด็กรู้สึกต่อไปว่า  เขาคงจะพอใจที่ตัวเองเป็นคนดีด้วย   ต่อไปเด็กจะชื่นชมตัวเองเป็น  ไม่ต้องรอให้คนอื่นเห็นความดีของตน  หรือรอให้คนอื่นชมเสมอไป  ดังตัวอย่างนี้
ครูดีใจมากที่เธอช่วยเหลือเพื่อน  เธอคงรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ทำเช่นนั้น  ใช่ไหม
พวกเราภูมิใจที่เธอได้รางวัลครั้งนี้  ช่วยกันตบเมือให้หน่อย  เธอคงภูมิใจในตัวเองเหมือนกันใช่ไหมจ๊ะ
แต่เวลาเตือน อย่าให้เกิดความอับอาย  ให้ค่อยๆคิด  และยอมรับด้วยตัวเอง  อย่าให้เสียความรู้สึก  ควรเตือนเป็นการส่วนตัว  ก่อนจะเตือน  ควรหาข้อดีของเขาบางอย่าง  ชมตรงจุดนั้นก่อน  แล้วค่อยเตือนตรงพฤติกรรมนั้น เช่น
“ ครูรู้ว่าเธอเป็นคนฉลาด  แต่การที่เธอเอาของเพื่อนไปโดยไม่บอกนี่ไม่ถูกต้อง
ครูเห็นแล้วว่าเธอมีความตั้งใจมาก  แต่งานนี้เป็นงานกลุ่มที่ต้องช่วยกันทำทุกคนนะจ๊ะ

ถามความรู้สึก  สะท้อนความรู้สึก  เช่น
หนูคงเสียใจ  ที่คุณครูทำโทษ” (สะท้อนความรู้สึก)
หนูรู้สึกอย่างไรบ้าง  ที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน” (ถามความรู้สึก)
เธอรู้สึกอย่างไรบ้าง  เมื่อถูกเพื่อนแกล้ง”  (ถามความรู้สึก)
เธอคงโกรธที่ถูกเพื่อนแกล้ง”  (สะท้อนความรู้สึก)
เรื่องที่คุยกันนี้คงจะกระทบความรู้สึกของหนูมาก  ครูจะคุยกันต่อได้ไหม” (สะท้อนความรู้สึก)

ถามความคิดและสะท้อนความคิด  เช่น
เมื่อเธอโกรธ  เธอคิดจะทำอย่างไรต่อไป”  (ถามความคิด)
เมื่อเด็กตอบว่า  “ผมอยากกลับไปชกหน้ามัน”  ควรพูดต่อไปว่า
เธอโกรธมากจนคิดว่าน่าจะกลับไปชกหน้าเขา”  (สะท้อนความคิด)
การถามและสะท้อนความรู้สึกและความคิด  จะได้ประโยชน์มาก  เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่า  เราเข้าใจ(ความคิด และความรู้สึก)ของเขา  ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี  เป็นพวกเดียวกัน  และจะเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น  ชักจูงได้ง่ายขึ้น
 

แนวทางการแก้ไข/ช่วยเหลือเมื่อเด็กเริ่มมีปัญหา

แนวทางการแก้ไข/ช่วยเหลือเมื่อเด็กเริ่มมีปัญหา
สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
รับฟังปัญหาเด็กเสมอ  ไม่ตำหนิ  หรือสั่งสอนเร็วเกินไป  ท่าทีเป็นกลาง
เข้าใจปัญหา  หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ  และแนวทางการแก้ไขปัญหา
มองเด็กในแง่ดี  มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ
กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีทางเลือกหลายๆทาง  วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน
ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง
เป็นแบบอย่างที่ดี 
ใช้กิจกรรมช่วย  กีฬา  ดนตรี  ศิลปะ  กิจกรรมกลุ่ม
ให้เพื่อนช่วยเพื่อน  อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน  ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน  ไม่ตัวใครตัวมัน
ชมเชยเมื่อทำได้ดี
เมื่อทำผิด  มีวิธีตักเตือน  ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม 
ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา  แก้ไขปัญหาครอบครัว