วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การพัฒนา “พันธุ์ข้าวต้านโรค ทนต่อสภาพแวดล้อม”

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวนับเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาการผลิตข้าว กอปรกับการมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ได้แม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น กรมการข้าวและ ไบโอเทค สวทช. ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้มีความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน ระยะที่ 1 (ปีพ.ศ. 2549 – 2552) ให้มีความต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยใช้จุดเด่นด้านเทคโนโลยีทางชีวภาพเกี่ยวกับการสืบค้นหายีน และการพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอ โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ได้ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็ม และสายพันธุ์ กขต้านทานโรคไหม้ โดยได้ผ่านการปลูกทดสอบในศูนย์วิจัยข้าว และแปลงของเกษตรกรแล้ว มีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์ข้าวทั้ง 3 สายพันธุ์จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต ระบบการผลิต และเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้ความร่วมมือวิจัยและพัฒนาข้าว เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ชัดเจนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงจัดให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วม มือในการวิจัยและพัฒนาด้านข้าว ระยะที่ 2 (ปีพ.ศ. 2553 – 2558) ระหว่างกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายยุคล ลิ้มแหลมทอง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงของเครือข่ายวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวทั้งระบบ ช่วยเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันกับตลาดโลก และจะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนต่อไป







ความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องเทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ให้ชาวนามีส่วนร่วม จึงเป็นงานที่มีความท้าทายต่อชาวนาทุกคนที่มีความสนใจเพราะเป้าหมายของการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวก็เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูความรู้ของชาวนา และพัฒนาความรู้ เทคนิคต่างๆในการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มาจากชาวนาเอง ให้ตอบสนองต่อระบบการผลิตของชาวนาได้อย่างเหมาะสม  สามารถลดต้นทุนการทำนา ชาวนามีทางเลือกในการพึ่งตนเองจากอาชีพการทำนา มีวีถีชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถเป็นชาวนาได้อย่างมีศักดิ์ศรี




การพัฒนาพันธุ์ข้าว



ข้าข้าวเป็นพืชที่คนไทยบริโภคเป็นอาหารหลักประจำวัน คนในสังคมไทยมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับข้าวตั้งแต่เกิดจนตาย จนอาจกล่าวได้ว่าข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญกับสังคมไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม มาช้านาน ข้าวที่บริโภคกันภายในประเทศเกือบทั้งหมดมาจากการเพาะปลูกของชาวนาไทยและแม้ว่าประเทศจะได้พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีไปมาก แต่การทำนาปลูกข้าวยังถือว่ามีความสำคัญในการผลิตภาคการเกษตรเป็นอันดับต้นๆ
การทำนาปลูกข้าวของชาวนาจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคโนโลยีการทำนาไปจากเดิม จากเทคโนโลยีการทำนาแบบพื้นบ้านได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการทำนาด้วยเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เน้นการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเกษตรจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตและวิถีชีวิตของชาวนาดังเช่นกรณีของการพัฒนาพันธุ์ข้าวสมัยใหม่ เพื่อให้ตอบสนองต่อระบบการตลาด
 การทำนาปลูกข้าวของชาวนาจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคโนโลยีการทำนาไปจากเดิม จากเทคโนโลยีการทำนาแบบพื้นบ้านได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการทำนาด้วยเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ เน้นการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเกษตรจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตและวิถีชีวิตของชาวนาดังเช่นกรณีของการพัฒนาพันธุ์ข้าวสมัยใหม่ เพื่อให้ตอบสนองต่อระบบการตลาด
 การพัฒนาพันธุ์ข้าวจึงเน้นผลผลิตต่อไร่สูงสุดและสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทำให้ชาวนาต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณสูงขึ้น ขณะที่ราคาปุ๋ยเคมีก็เพิ่มขึ้นสูงทุกปี  อีกทั้งพันธุ์ข้าวสมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นก็มักจะมีความอ่อนแอต่อโรค ชาวนาในระบบเกษตรสมัยใหม่ก็มักจะจัดการปัญหาด้วยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชควบคู่กันไป ส่งผลต่อสุขภาพและค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือการพัฒนาพันธุ์ข้าวตามระบบเกษตรสมัยใหม่ ที่แม้จะได้ข้าวพันธุ์ดีแต่ก็ได้ทำให้ต้นทุนเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวของชาวนาเพิ่มขึ้นเพราะมีส่วนส่งเสริมให้ชาวนาหันไปซื้อพันธุ์ข้าวปลูก
แทนการเก็บพันธุ์ไว้ใช้เองที่เคยทำมาแต่เดิมเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้ต้นทุนการผลิตของชาวนาสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
 การพัฒนาพันธุ์ข้าวในลักษณะนี้จึงมุ่งตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและระบบที่เป็นเกษตรเคมี มากกว่าให้ตอบสนองต่อความต้องการของชาวนา
ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันการทำธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวภาคเอกชน
บริษัทธุรกิจเมล็ดพันธุ์กำลังเข้ามามีบทบาทในการทำตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าว
ที่มุ่งจะผูกขาดเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์และทำกำไรจากการขายเมล็ดพันธุ์
รวมทั้งปัจจัยการผลิตอื่นๆ ในลักษณะครบวงจร ทำให้ชาวนามีทางเลือกที่จำกัด
ในการผลิต และนับวันจะทำให้ชาวนาพึ่งตนเองได้น้อยลง

การเสียบยอด

การเสียบยอด
    การเสียบยอด  คือ การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2 ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโต เป็นต้นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้



1. ตัดยอดต้นตอให้สูงจากพื้นดิน ประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วผ่ากลางลำต้นของ ต้นตอให้ลึกประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
    2. เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ 3 - 4 เซนติเมตร
    3. เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบน และล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น
    4. คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติก หรือนำไปเก็บไว้ในโรงอบพลาสติก 
    5. ประมาณ 5 - 7 สัปดาห์ รอยแผลจะประสานกันดี และนำออกมาพักไว้ในโรง เรือนเพื่อรอการปลูกต่อไป



การทาบกิ่ง

การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ให้ได้ต้นพันธุ์ที่ให้ได้ต้นพันธุ์ดีซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่วิธีหนึ่ง โดยกิ่งพันธุ์ดีจะทำหน้าที่เป็นลำต้นของต้นพืชใหม่ ส่วนต้นตอที่นำมาทาบติดกับกิ่งของต้นพันธุ์ดีจะทำหน้าที่เป็นระบบราก เพื่อหาอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทาบกิ่ง
๑. มีดบางหรือมีดที่ใช้สำหรับขยายพันธุ์
๒. กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
๓. แผ่นพลาสติกขนาด ๐.๕ x ๑๒ นิ้ว หรือเทปพลาสติกสำเร็จรูปเป็นม้วน
๔. ต้นตอหรือตุ้มทาบ
๕. เชือกหรือลวด

วิธีการทาบกิ่ง แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ
๑. การทาบกิ่งแบบประกับ (Approach grafting)
การทาบกิ่งแบบนี้ทั้งต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีต่างก็ยังมีรากและยอดอยู่ทั้งคู่ มักใช้ในการทาบกิ่งไม้ผลที่รอยแผลประสานกัน ช้า เช่น การทาบกิ่งมะขาม เป็นต้น สำหรับวิธีการทาบมี ๓ วิธีดังนี้

๑.๑ วิธีทาบกิ่งแบบฝานบวบ (Spliced approach grafting)
๑. เลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ให้บริเวณที่จะทาบมีขนาดพอ ๆ กันและมีลักษณะเรียบตรง
๒. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเข้าไปในเนื้อไม้เล็กน้อย รอยแผลยาวประมาณ ๑-๒ นิ้ว ลักษณะแผลรอยเฉือนคล้ายรูปโล่
๓. เตือนต้นตอในทำนองเดียวกัน และให้มีความยาวเท่ากับแผลบนกิ่งพันธุ์ดี
๔. มัดต้นตอและยอดพันธุ์ดีเข้าด้วยกันโดยจัดแนวเยื่อเจริญให้สัมผัสกันมากที่สุด
๕. พันรอบรอยด้วยพลาสติกให้แน่น

๑.๒ วิธีการทาบกิ่งแบบเข้าลิ้น (Tongued approach grafting) เป็นวิธีที่คล้ายวิธีแรก แต่ต่างกันตรงที่รอยแผลของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีจะทำเป็นลิ้น เพื่อให้สามารถสอดเข้าหากันได้
๑. เลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ให้บริเวณที่จะทาบมีขนาดพอ ๆ กัน
๒. เฉือนต้นตอให้มีแผลเป็นรูปโล่ยาวประมาณ ๑-๒ นิ้ว พยายามเฉือนให้เรียบอย่าให้เป็นคลื่น
๓. จาก ๑/๓ ของปลายรอยแผลที่เฉือนนี้ เฉือนให้เป็นลิ้นลงมาเสมอกับโคนรอยแผลด้านล่าง
๔. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีในลักษณะเดียวกัน แต่ให้ลิ้นที่เฉือนกลับลงในลักษณะตรงกันกับลิ้นของต้นตอ
๕. สวมลิ้นของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีเข้าด้วยกัน โดยจัดให้แนวเยื่อเจริญสัมผัสกัน
๖. พันรอบรอยแผลด้วยพลาสติกให้แน่น 

๑.๓ วิธีทาบกิ่งแบบพาดร่อง (Inlay approach grafting) การทาบกิ่งวิธีนี้มักใช้เพื่อการเปลี่ยนยอด หรือการเสริมรากให้ต้นไม้ที่มีระบบรากไม่แข็งแรง หรือระบบรากถูกทำลาย วิธีทางกิ่งปฏิบัติได้ดังนี้
๑. กรีดเปลือกต้นตอตรงบริเวณที่จะทำการทาบ ให้มีความยาวประมาณ ๒-๓ นิ้ว โดยกรีดเป็นสองรอยให้ขนานกัน และให้รอยกรีห่างกันเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งพันธุ์ดี
๒. กรีดเปลือกตามขวางตรงหัวและท้ายรอยกรีดที่ขนานกัน แล้วแกะเอาเปลือกออก
๓. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เข้าไปในเนื้อไม้เป็นรูปโล่ และให้ยาวเท่ากับความยาวของแผลที่เตรียมบนต้นตอ
๔. ทาบกิ่งพันธุ์ดีตรงบริเวณที่เฉือนนั้นให้เข้าในแผลบนต้นตอ
๕. ใช้ตะปูเข็มขนาดเล็กตอกกิ่งพันธุ์ดีติดกับต้นตอ แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
๖. เมื่อกิ่งพันธุ์ดีและต้นตอติดกันดีแล้ว จึงทำการตัดต้นตอเหนือรอยต่อและตัดกิ่งพันธุ์ดีใต้รอยต่อกรณีต้องการเปลี่ยนเป็นยอดพันธุ์ดี 



๒. การทาบกิ่งแบบเสียบ (Modified approach grafting) เป็นวิธีทาบกิ่งที่แปลงมาจากวิธีการทาบกิ่งแบบประกับ โดยจะทำการตัดยอดต้นตอออกให้เหลือสั้นประมาณ ๓-๕ นิ้ว เพื่อลดการคายน้ำ สำหรับวิธีทาบแบบเสียบที่นิยมปฏิบัติกันมี ๓ วิธีคือ 
๒.๑ การทาบกิ่งแบบฝานบวบแปลง (Modified spliced approach grafting) เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเพราะสามารถทำได้รวดเร็ว และใช้กับพืชได้ทั่ว ๆ ไป พืชที่นิยมใช้วิธีทาบแบบนี้ ได้แก่ มะม่วง มะขาม ขนุน ทุเรียน เป็นต้น โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
๑. นำต้นตอขึ้นไปทาบโดยกะดูบริเวณที่จะทำแผลทั้งต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี
๒. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปโล่เข้าเนื้อไม้เล็กน้อย และให้แผลยาวประมาณ ๑.๕-๒ นิ้ว
๓. เฉือนต้นตอเฉียงขึ้นเป็นปากฉลามให้แผลยาวเท่ากับแผลที่เตรียมบนกิ่งพันธุ์ดี
๔. นำต้นตอประกบกับกิ่งพันธุ์ดี โดยให้แนวเยื่อเจริญทับกันด้านในด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน
๕. พันรอบรอยแผลด้วยพลาสติกให้แน่นและมัดต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดี 

๒.๒ การทาบกิ่งแบบเข้าบ่าขัดหลัง (Modified veneer side approach grafting) วิธีการทาบกิ่งแบบนี้คล้ายกับวิธีฝานบวบแปลง แต่แตกต่างกันตรงรอยแผลของกิ่งพันธุ์ดีจะเฉือนทำเป็นบ่าหรือเงี่ยงปลา ส่วนของต้นตอจะเฉือนด้านหลังของรอยแผลปากฉลามออกเล็กน้อย พืชที่นิยมใช้เช่นเดียวกับแบบฝานบวบแปลง โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
๑. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเอียงขึ้นเข้าเนื้อไม้ประมาณ ๑/๔ ของเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งความยาวแผลประมาณ ๑.๕-๒ นิ้ว เฉือนแผลด้านบนทำเป็นบ่าหรือเงี่ยงปลาประมาณ ๑/๔ ของความยาวของแผล
๒. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลามตัดด้านหลังเอียงขึ้นเข้าหาปากฉลามขนาดความยาวแผลประมาณ ๑/๔ ของแผลปากฉลาม
๓. นำต้นตอที่ปาดเรียบร้อยแล้วสอดเข้าไปขัดกับบ่าหรือเงี่ยงปลาที่ทำไว้ แล้วจัดให้แนวเยื่อเจริญสัมผัสกันมากที่สุด
๔. พันด้วยพลาสติกให้แน่น




๒.๓ การทาบกิ่งแบบเสียบข้างแปลง (Modified side approach grafting) วิธีการทาบแบบนี้มีขั้นตอนต่าง ๆ เหมือนวิธีแรก แต่แตกต่างกันที่ลักษณะเฉือนต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
๑. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเป็นมุมเอียงขึ้นประมาณ ๒๐-๓๐ องศา เข้าไปในเนื้อไม้ประมาณ ๑/๔ ของเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง ความยาวแผลประมาณ ๑.๕-๒ นิ้ว
๒. เฉือนต้นตอเป็นรูปลิ่มโดยให้แผลส่วนที่สัมผัสด้านในาวกว่าแผลหน้าที่สัมผัสด้านนอก
๓. สอดต้นตอเข้าไปในเนื้อไม้แบบตอกลิ่ม โดยให้แนวเยื่อเจริญสัมผัสกันมากที่สุด
๔. พันด้วยพลาสติกให้แน่น 
การปฏิบัติดูแลหลังจากทำการทาบแล้ว
๑. ควรให้น้ำแก่ต้นแม่พันธุ์กิ่งพันธุ์ดีอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับสังเกตดูน้ำในตุ้มทาบที่ทาบแบบประกับซึ่งมักจะแห้งจึงต้องให้น้ำโดยการใช้หัวฉีดฉีดน้ำเข้าไปในถุงตุ้มทาบบ้างในบางครั้ง แต่สำหรับตุ้มทาบแบบเสียบมักจะไม่พบปัญหาตุ้มทาบแห้งเท่าใดนัก ยกเว้นทำการทาบในฤดูแล้ง
๒. กรณีที่ส่วนยอดกิ่งพันธุ์ดีหลังจากทาบแล้วมีโรคและแมลงเข้าทำลาย ควรกำจัดโดยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดโรค และแมลง
๓. กรณีที่มีพายุหรือฝนตกหนักต้องหาไม้มาช่วยพยุงหรือค้ำกิ่งไว้เพื่อไม่ให้กิ่งพันธุ์ที่ทำการทาบหักได้
๔. กรณีที่ทำการทาบหลายตุ้มในกิ่งเดียวกันควรต้องหาไม้ค้ำ หรือเชือกโยงไว้กับลำต้นเพื่อไม่ให้กิ่งใหญ่หักเสียหาย 
ลักษณะของกิ่งทาบที่สามารถตัดไปชำได้
๑. กิ่งทาบมีอายุประมาณ ๔๕-๖๐ วัน
๒. สังเกตรอยแผลของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีว่าประสานกันดี เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และนูน
๓. กระเปาะหรือตุ้มทาบีความชื้นพอประมาณณ (ค่อนข้างแห้ง)
๔. กระเปาะหรือตุ้มทาบมีรากเจริญออกมาใหม่เห็นชัด รากเป็นสีน้ำตาล และปลายรากมีสีขาว 
วิธีการตัดกิ่งทาบ
ให้ตัดกิ่งพันธุ์ดีตรงระดับก้นกระเปาะหรือตุ้มทาบ เพื่อสะดวกในการย้ายชำและช่วยทำให้รอยต่อของแผลไม่หักหรือฉีกเนื่องจากน้ำหนักของส่วนยอดพันธุ์ดี เพราะส่วนโคนกิ่งพันธุ์ดีที่ยาวเลยรอยแผลจะช่วยพยุงน้ำหนักของส่วนปลายยอดพันธุ์ดีเอง 
การชำกิ่งทาบ
เมื่อตัดกิ่งทาบจากต้นพันธุ์ดี ให้นำมาแกะเอาถุงพลาสติกออก แล้วชำลงในถุงพลาสติกสีดำขนาด ๘x๑๐ นิ้ว หรือกระถางดินเผาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ นิ้ว ที่บรรจุด้วยขุยมะพร้าวล้วน ๆ หรือดินผสม ปักหลักและผูกเชือกกิ่งทาบให้แน่น นำเข้าพักไว้ในโรงเรือนที่ร่ม รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ประมาณ ๑๕-๒๐ วันหรือจนกิ่งพันธุ์ดีเริ่มแตกใบใหม่ จึงนำไปปลูกหรือจำหน่ายได้ สำหรับการชำกิ่งพันธุ์ดีที่ทิ้งใบง่าย เช่น ขนุน กระท้อน ควรพักไว้ในโรงเรือนที่มีความชื้นสูง เช่น กระโจม พลาสติก หรือโรงเรือนระบบพ่นหมอก จะช่วยลดปัญหาการทิ้งใบของพืชนั้นลงได้